จากโค้ด if(x<0){
x=500;
}
if(x>500){
x=0;
}
if(y>500){
y=0;
}
if(y<0){
y=500;
}
และได้เขียนเป็น flowchart ออกมาดังรูปด้านล่าง
ซึ่ง flowchart ที่ดีจะต้องถูกต้อง อ่านและทำความเข้าใจได้ง่าย มีการบอกลำดับขั้นตอนการทำงานด้วยลูกศรจากลำดับก่อนหน้าไปลำดับถัดไป
ตัวอย่างทั่วไปของการเขียน flowchart
Flowchart การต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
Flowchart การต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบมีเงื่อนไข
ซึ่ง flowchart ข้างต้นนั้นเป็นแบบ if else คือ หากตรงตามเงื่อนไขก็จะทำงานและหยุดการทำงาน
ซึ่งการใช้ if หรือ if else นั้น จะมีความต่างกันในการเขียน Flowchart คือ การใช้ if เมื่อเราตรวจสอบเงื่อนไขแล้วไม่ว่าจะเป็นจริงหรือเท็จ ก็จะตรวจสอบเงื่อนไขต่อไปทั้งหมดด้วย ส่วนการใช้ if else นั้น หากเงื่อนไขเป็นจริงแล้ว โปรแกรมจะหยุดการทำงานไม่ตรวจสอบเงื่อนไขต่อไปเช่นตัวอย่างด้านล่างนี้
#การทำงานของ if
X=0 #x มีค่าเท่ากับ 0
if x>5 : #ถ้า x มีค่ามากกว่า 5
print('x>5') #print x>5
if x<10: #ถ้า x มีค่าน้อยกว่า 10
print('x<10') # print x<10
ซึ่ง output ที่ได้คือ x<10 แต่ถ้าหากเปลี่ยนให้ x มีค่าเท่ากับ 6 output ที่ได้จะแสดงทั้ง x>5 และ x<10เนื่องจาก การทำงานของ if จะตรวจสอบทุกเงื่อนไข
X=0 #x มีค่าเท่ากับ 0
if x>5 : #ถ้า x มีค่ามากกว่า 5
print('x>5') #print x>5
else : #นอกจากนั้น 10
print('x<10') # print x<10
ซึ่ง output ที่ได้คือ x<10 แต่ถ้าหากเปลี่ยนให้ x มีค่าเท่ากับ 6 output ที่ได้จะแสดง x>5 เพียงอย่างเดียว เนื่องจากเงื่อนไขเป็นจริงแล้ว
และ flowchart ที่ถูกต้องของ code ในตอนแรกนั้นจะมีหน้าตาเป็นดังนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น